Visiting Saitama Prefecture : Southern Field Industries, Okada-san House
Visiting Saitama : Southern Field Industries, Okada House **This Blog made by Sound Recording & Memories Interview & Photo by : Sorasak "House" Chanmantana instagram : @junnhouse / @southernfieldindustries Link to buy : Link to brand
ช่วงปลายๆพฤษภาคมของญี่ปุ่นกำลังจะเริ่มเข้าฤดุร้อน เปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิ อากาศกำลังดี ไม่เย็นและไม่ร้อนจนเกินไป บวกกับหน้าที่การงานที่ทำให้ต้องไปโตเกียวเลยถือโอกาสขอแวะไปหาผู้ผลิตสินค้าที่เราเลือกมาขาย และสิ่งที่ผมสนใจที่สุดคงเป็นแบรนด์ Southern Field Industries ผู้ผลิตกระเป๋าแคนวาส แบบแฮนด์คราฟเท็ด ที่ใช้คนเพียง 2 คน (สามี-ภรรยา) คุณ มานาบุ และ คุณเคโกะ โอคาดะ ที่มีที่ตั้งอยู่ที่เมืองไซตามะ ผมเคยอยากรู้มานานแล้วว่า 2 คนนี้ผลิตของดีๆออกมาในสภาพแวดล้อมแบบไหน แล้วทำงานกันยังไง?
ไซตามะเป็นจังหวัดที่อยู่ติดกับโตเกียวเพียง 1 ชั่วโมงโดยรถไฟ ซึ่งถ้าดูจากไกด์บุค คือเมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่มีนักท่องเที่ยว ไม่มีอะไรทำเลย คือจากความเข้าใจของผมเองคิดว่าคงไม่มีอะไรน่าสนใจนัก เพื่อนชาวญี่ปุ่นก็ถามว่า มึงไปทำอะไรวะ ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าสิ่งเดียวที่ผมรู้จักจากเมืองนี้คือ เครยอน ชินจัง อย่างเดียว นอกนั้นไม่รู้อะไรเลย
Saitama Prefecture has connected by train from Tokyo only 1 hour. If you looked into travel guidebook. This prefecture quite silence itself and quite nothing to do. From my understanding was nothing interesting there but Okada-san’s place. When I told my other Japanese friend that I’m going there then he was like “What the xxx will you doing there!. Therefore the only thing I know from this city is manga “Crayon Shin-chan” otherwise is zero.
เริ่มจากนัดกันก่อน ว่าคุณมานาบุจะขับรถมารอรับที่สถานีทากาซากะ ด้วยความโง่ของผมเอง นั่งรถไฟเลยไป 1 สถานี ทำให้คุณมานาบุต้องมารอนานกว่าที่ควร โดนค่าปรับไป 5000 เยน (รู้สึกผิด)
หลังจากขึ้นมาบนรถก็เริ่มสนทนาทันที คุณมานาบุเล่าให้ฟังว่า เดิมทีพ่อของเขา เป็นผู้จำหน่ายและ ผลิตอุปกรณ์ให้กับอุตสาหกรรมม้าแข่ง ที่ทำจาก แคนวาสและหนัง เช่น หมวกและ อานม้า แต่ต่อมาการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรมที่เน้นต้นทุนต่ำกว่าเริ่มเข้ามาแทนที่ การค้าหลายๆอย่างต้องส่งไปผลิตในที่ที่ต้นทุนต่ำกว่า เช่นประเทศจีน ทำให้ในที่สุด ทำให้สุดท้ายต้องปิดกิจการไป คุณมานาบุจึงเริ่มต้นที่จะไปพัฒนาตลาดไลฟ์สไตล์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นำความสามารถที่มีมากว่า 20 ปีมาพัฒนาสินค้า กับภรรยาของเขา คุณเคโกะ และเริ่มมาเป็น เซาเทิร์นฟิลด์ อินดัสตรีส์ ตั้งแต่ปี 2008 ระหว่างขับรถมาเห็นแต่ภูเขากับที่นา และบ้านทรงญี่ปุ่นเก่าๆ
และแล้วก็มาถึงบ้านโอคาดะซัง บ้านรูปทรงที่ขัดกับเมืองมากๆ สไตล์แบบสแกนดิเนเวียนผสมพรีแคสต์คอนกรีตแบบญี่ปุ่นทำให้ตกตะลึงทันที (ส่วนตัวผมชอบกำแพงพรีแคสต์มากๆ) คุณเคโกะเปิดประตูต้อนรับพร้อมสุนัข 2 ตัว พันธ์ลาบาดอร์ รีทีฟเวอร์ชื่อแจสมิน กับ แม๊กกี้ ชื่นชมบ้านสักพัก คุณเคโกะก็ไปชงกาแฟ (ดริป) แล้วก็มานั่งคุยเล่นกันที่โต๊ะกินข้าว พร้อมนั่งดูบ้านไปในเรื่อยๆ ผมคิดว่าบ้านโอคาดะซังคือบ้านในฝันของหลายๆคนชัดๆ จนลืมเรื่องสำคัญเกี่ยวกับกระเป๋าของเขาชัดๆ
After I got on his ride then started conversations. Manabu-san told his story so far since the beginning his parents had a company/factory supplied Equestrian Products for the race horse industry made by canvas and leathers which he started learned how to creating good quality products and expertise of craftsmanship. He mentioned the good old day has passed. The industry had been changed and replaced to focusing on low cost manufacturers for example manufacturing in lower wage country like China made his parents' company finally had to shut down their business, therefore Manabu-san set up his new goal focusing on bags and more lifestyle products which can do everyday-use. based on quality and his approximately 20 years experienced in craftsmanship skills beside helping of his wife Keiko-san and became “Southern Field Industries” since 2008.
Finally we arrived Okada’s House, took around 15 minutes. Their house looked contrasted with others in their neighborhood. Scandinavian Style mixed with Japanese style’s pre-casted concrete walls. (I’m really love pre-casted concrete walls personally) Keiko-san opened the door welcomed me to their house with 2 Labrador Retriever dog, Jasmine and Maggie. Looked around their house for a while then Keiko-san made me a dripped coffee,had a seat then we had some chatted at a kitchen table. I think Okada’s house is one of someones’ dream house, including me. Until I forgot important things I wanted to ask about their bags production processing.
เรานั่งคุยกันเกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างๆ แอบเปิดวีดิโอตัวเองเล่นคอนเสิร์ตให้ดูบ้าง ผมเริ่มเล่าประสบการณ์ของผมกับกระเป๋าของเขา การตอบรับของลูกค้า หรือการที่ผมได้ไปเห็นสินค้าของเขาตามร้านต่างๆในประเทศอื่นๆ กลุ่มเป้าหมายต่างๆว่าลูกค้าของเขาที่ไทยเป็นยังไงบ้าง เราแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างลูกค้าที่ญี่ปุ่นและไทย คุณมานาบุเล่าเกี่ยวกับตลาดแฟชั่นในญี่ปุ่นให้ฟังว่า ตัวเขาเองไม่ได้รู้จักสังคมแฟชั่นมากนัก ในโตเกียวมีกลุ่มแฟชั่นที่แข็งแรงมากๆ แต่ตัวเขาเองเน้นผลิตสินค้าที่ใช้ได้กว้างๆและคุณภาพดี มากกว่าเน้นกระแสของยุคต่างๆ รวมถึงเล่าว่า ระยะหลังๆมานี่ร้านเสื้อผ้าเล็กๆเริ่มต้องย้ายออกนอกโตเกียวกัน เนื่องจากการที่เมืองมีค่าที่ที่แพงขึ้นทำให้ธุรกิจขนาดเล็กต้องย้ายออกไปนอกเมืองมากขึ้น รวมถึงการที่ตัวเขาต้องไปออกงานที่ปารีสทุกๆ 6 เดือน โปรดักชั่นของเขาผลิตโดย 2 คน ทำให้ทุกๆซีซั่น (6 เดือน) สามารถผลิตได้ 500-600 ชิ้น โดยคนสองคน บางครั้งพ่อแม่ของคุณมานาบุก็มาช่วยบ้าง คุณมานาบุเล่าว่าเขาอยากจ้างคนเพิ่มบ้างเหมือนกัน แต่การจ้างคนไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคนที่มีความสามารถมากๆ ก็ต้องจ่ายแพงมากๆเหมือนกัน แผนของเขาคืออยากขยายห้องทำงานเพิ่มใน 2-3 ปีข้างหน้า สักพักก็เริ่มนึกได้ว่าเราต้องไปดูห้องทำงานเขานี่หว่า! เริ่มลุกออกไปดู
“คุณใช้เวลาทั้งวันที่นี่เลยเหรอ” ผมถาม คุณมานาบุพยักหน้า พร้อมกับเริ่มเดินอธิบายส่วนต่างๆในห้อง โต๊ตัดแพทเทิร์น อธิบายถึงผ้าแว๊กซ์แคนวาสจากโอกายามาที่เขาเลือกใช้ซึ่งต่างจาก อเมริกัน หรือ อังกฤษ ของโอกายาม่าที่เขาใช้จะมีเนื้อที่แห้งกว่า และผ้าดูดซึมแว๊กซ์มากกว่า ก่อนจะอธิบายว่า มันตลกมากในการสั่งซื้อวัตถุดิบในญี่ปุ่น "เราไม่เคยได้คุยกับผู้ผลิตโดยตรงเลย ในสังคมญี่ปุ่นจะต้องมีคนกลางอยู่เสมอ ที่คอยคุยระหว่างผู้ซื้อกับโรงงานให้ เป็นเรื่องที่ยากมากๆที่จะได้คุยกับโรงงานโดยตรง มันเป็นเหมือนระบบที่นี่โดยปกติ" ส่วนที่เป็นหนังมาจากเมืองนิกโกะ จังหวัดโทชิกิ “ผมเริ่มฝึกผลิตเครื่องหนักช่วงปี 1996-1997 ช่วงที่ผมพึ่งจบมหาวิทยาลัย ประมาณ 20 ปีมาแล้ว” คุณมานาบุพูดถึงก่อนหน้านี้ใช้ผ้าที่ละเอียดกว่าปัจจุบัน สวยกว่า แต่ใช้ไปสักพักเรื่องรูปทรงก็เป็นปัญหาเหมือนกัน เขาเริ่มใช้ผ้าที่หนาและอยู่ทรงมากขึ้น และ ฮาร์ดแวร์ทองเหลืองจากโตเกียว
“I used tighter fabrics and more beautiful before but there are some problems with it will not on shaping if you used for a while then he replaced with rougher fabrics and Brass hardwares from Tokyo” he said.
บ้านของคุณมานาบุปลูกติดกับสุสาน ซึ่งคุณมานาบุบอกว่าทำให้เขาซื้อมาในราคาค่อนข้างถูกมาก เพราะคนญีปุ่นหลายๆคนก็กลัวผีเหมือนกับคนไทยนั่นแหละ ในมุมมองของผมเองสุสานแบบญี่ปุ่นเป็นอะไรที่สวยมากๆปลูกอย่างเป็นระเบียบ คุณมานาบุเริ่มโชว์สื่งที่เขาปลูกกินเองในตัวบ้าน เช่น บลูเบอร์รี่ มะเขือเทศ มะเขือยาว หัวหอม พื้นที่บ้านข้างๆมีซากุระขึ้นเต็มแนวในเดือนเมษายน “แต่ที่นี่ไม่มีใครมาแย่งฮานามิ(การชมดอกไม้เลย)” “บางครั้งผมก็พาแจสมิน กับ แม๊กกี้มาเดินเล่นที่นี่” คุณมานาบุพูดอย่างอารมณ์ดีมากๆ แล้วเริ่มโชว์พื่นที่หน้าบ้านว่า เคโกะกำลังปลูกผักเพิ่มหน้าบ้านตรงนี้
Okada’s house was build by the graveyard. His backyard is graveyard which made he can buy the property in very cheap price. He added “Yes, most of Japanese are also afraid of ghost stories like Thais. In my opinion Japanese graveyards to me are very impressed, lined up very neat and tidy. Manabu-san showed his garden he grew some kitchen plants for their own meals like blueberries, Tomatoes, Eggplants and Onions. Street by their house lined all its way with Sakura Trees “but no one comes in Hanami season(picnic .It was very cool.” he added.
หลังจากกลับเข้าบ้านไม่นานก็ถึงเวลาที่ต้องกลับ ผมถ่ายรูปกับเขาอีกสัก 2-3 รูป ก็ต้องขอลาโดยคุณมานาบุขับรถกลับไปส่งที่สถานีรถไฟ ออกจากบ้านโดยคุณเคโกะยืนบ๊ายบายหน้าประตูบ้านจนลับตา คุณมานาบุก็เช่นกันที่สถานี่ สิ่งที่ผมรักมากๆในวัฒนธรรมญี่ปุ่นคือ การที่เราเป้นแขกของใครเขาจะเทคแคร์เราดีมากๆ เวลาเขาส่งแขกล่ำรา ก็ยืนจนกว่าจะลับตาไป
ผมได้เรียนรู้ว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา คนที่นี่เปลี่ยนไปมาก หลายๆคนเริ่มปฏิเสธวัฒนธรรมเก่าๆ การมีแนวคิดแบบใหม่ ได้เห็นคนที่ไม่ไปทำงานบริษัทใดบริษัทหนึ่งตลอดชีวิต การทำงานที่บ้าน และภาคภูมิใจในเมืองที่พวกเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ นำเสนอด้านดีของย่านของตนเอง พนักงานตามร้านส่วนมากก็เริ่มพูดภาษาต่างประเทศได้เก่งขึ้น ยิ่งทำให้ผมประทับใจและมีความรู้สึกร่วมไปกับพวกเขามาก
กลายเป็นคำถามกลับมาที่สังคมที่เราจะเห็น หรือจากประสบการณ์และมุมมองของผู้เขียนเองว่า คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ อยากมีความมั่งคงในสถานะทางการเงินขณะอายุยังน้อย แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้มาก และน่าเสียดายคือ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความรักและศึกษาอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่พวกเขาสนใจจะทำมากนัก ใช้เงินเป็นตัวแปรหลักในการประสบความสำเร็จ ความคิดเห็นส่วนตัวของผมคิดว่ามันอาจจะทำให้ธุรกิจนั้นๆ อาจจะไม่ได้มีโอกาสมีอยู่อย่างยั่งยืนก็เป็นได้
สำหรับแบรนด์ Southern Field Industries สามารถดูรายละเอียดของแบรนด์ได้ที่เว็บไซต์ www.southernfieldindustries.com หรือถ้าต้องการซื้อสินค้าของ SFI ได้ที่ http://www.onionbkk.com/brands/sfi.htmlI’ve learned from the past 10 years. People in Japan changed a lot. Many people now getting out from old fashioned culture. New direction of creatives. I’ve seen some people not going to work with one company forever. Working or creating somethings at home. Living proudly in their own cities, representing their own neighborhoods. A lot of people who work as shopkeepers begin to good in other languages skill. Those are all made me ultimately impressed and very into them.
Those things and my trip made me some questions to the social I’m living or by my experiences displayed a number of new generations or first jobbers wanted to be a business owner or young aged financial stability. One thing I've often seen / a bit disappointed is some of them don’t really in love or deeply in studying enough in what they’re interesting to do in their business. It might not makes business expected last longer in my opinion.
For the brand "Southern Field Industries" itself. More information at www.southernfieldindustries.com or buy their products at http://www.onionbkk.com/brands/sfi.html